วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553


ประวัติความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีในประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากคณะเสนาบดีในอดีต ตั้งแต่สมัยอยุธยาเริ่มมีเสนาบดีเวียง วัง คลัง นา รับผิดชอบแต่ละฝ่าย และยังมีเสนาบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ได้ถูกเสนอขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วง ปี รศ.103 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสภาพบ้านเมืองขณะนั้นยังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบ แต่ก็ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ครั้งใหญ่ โดยทรงจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ากระทรวง ทำหน้าที่ในลักษณะของคณะรัฐมนตรีแต่พระมหากษัตริย์ยังคงทรงเป็นประธาน[9] โดยระบบคณะเสนาบดีนี้ได้ดำเนินมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ถวายคำปรึกษา แต่แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีก็ยังคงมีอยู่ดังปรากฎในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของพระยากัลยาณไมตรี มาตรา 3-5[10] ซึ่งได้ถูกคัดค้านและไม่มีการนำมาปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตามอาจสรุปได้ว่าการบริหารราชการแผ่นดินก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์โดยตรง[11] แม้บางครั้งจะมีคณะบุคคลร่วมทำงานในการเป็นที่ปรึกษาต่างๆ หรือช่วยบริหารงานราชการกระทรวงต่างๆก็ตามคณะรัฐมนตรีเต็มรูปแบบในระบบรัฐสภาคณะแรกของไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เดิมนั้นใช้ชื่อว่า คณะกรรมการราษฎร เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยสภาผู้แทนราษฎรได้เลือก มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร จากนั้นประธานคณะกรรมการราษฎรจึงได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรให้สภาอนุมัติซึ่งคณะกรรมการราษฎรนี้ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา โดยถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรเป็นนโยบายของรัฐบาล ในระหว่างที่ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทักท้วงว่าการใช้คำว่า "กรรมการราษฎร" แทน "Minister" หรือ "เสนาบดี"ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงเห็นว่าไม่ไพเราะและ ไม่ค่อยถูกต้องนัก[12] เพราะฟังดูเป็นโซเวียต ในรัฐสภาจึงถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างมาก และที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติให้ใช้คำว่า “รัฐมนตรี” แทน “กรรมการราษฎร” และใช้คำว่า “นายกรัฐมนตรี” แทน “ประธานคณะกรรมการราษฎร” และคำว่า “คณะรัฐมนตรี” แทนคำว่า “คณะกรรมการราษฎร” ซึ่งคำว่าคณะรัฐมนตรีหมายถึง “ข้าราชการผู้ใหญ่ในแผ่นดิน” มิใช่ที่ปรึกษาของแผ่นดินอีกต่อไป[13] และประกาศ ใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นับแต่นั้นมา[14] ปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 59 คณะ

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด

เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา

ศาลยุติธรรมไทย


ศาลยุติธรรมมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูกโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นผู้ทรงพระราชอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีความให้แก่ราษฎรโดยยึดหลัก "คัมภีรพระธรรมศาสตร"ของอินเดียต่อมาเมื่อพระองค์มีราชกิจมากขึ้นไม่สามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีความด้วยพระองค์เองได้จึงทรงมอบพระราชอำนาจนี้ให้แก่พราหมณ์ปุโรหิตผู้มีความรู้ช่วยวินิจฉัยคดีต่าง ๆ แทนพระองค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได ้โปรดฯให้มีการตรวจชำระกฎหมายที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยนำมาปรับปรุงและบัญญัติขึ้นใหม่เรียกว่า
"กฎหมายตราสามดวง"ศาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอยู่มากมายหลายศาลกระจายกันอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆและมีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีต่างพระเนตรพระกรรณแทนพระมหากษัตริย์ต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ ลัทธิชาวตะวันตกได้แผ่ขยายเข้ามาทำให้ระบบการศาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงมิฉะนั้นอาจเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับชาติตะวันตกได้ จึงมีการปฏิรูประบบการศาลไทยขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีบทบาทในการวางรากฐานระบบการศาลยุติธรรม โดยได้รวมศาลที่กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆ ให้มารวมไว้ในท ี่แห่งเดียวกัน เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสมไม่ทำให้ราษฎรเดือดร้อน และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันที่21 เมษายน 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางขบวนพยุหยาตรามาวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรม และทรงโปรดฯ ให้จารึกพระราชปรารภในการจัดตั้งศาลยุติธรรมไว้ในแผ่นเงิน ซึ่งเรียกว่า"หิรัญบัตร" มีความกว้าง 9.5 ซ.ม. ยาว 37.2 ซ.ม. จำนวน 4 แผ่น ฝังอยู่ใต้อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมบนแผ่นเงินจารึกด้วยอักษรไทยที่สวยงามและทรงคุณค่ามาก แสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายในการปกครองแผ่นดินว่ามีพระราชประสงค์ให้ตั้งศาลขึ้นเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี ทรงเล็งเห็นว่าบ้านเมืองจะอยู่ด้วยความสงบสุขร่มเย็นต้องอาศัยการศาลเป็นสำคัญจึงทรงจัดระบบกฎหมายและระเบียบทางการศาลขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก โดยมีกรมหลวงพิชิตปรีชากรและพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขกฎหมายและปฏิรูประบบการศาลยุติธรรมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประะเทศ ศาลจึงเป็นสถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชนสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครครบรอบ 220 ปี ซึ่งตรงกับศาลยุติธรรมครบรอบ120 ปี ในปี พ.ศ. 2545สำนักงานศาลยุติธรรมจึงร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่มีต่อศาลยุติธรรม จึงถือเอา วันที่ 21 เมษายนของทุกปีเป็น "วันศาลยุติธรรม"

รัฐสภาไทย



ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการ
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่
19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย



ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534) การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 " คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481 ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491 จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491 พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516 การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว กบฎ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520 กบฎ 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้ การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528 พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543, 482 หน้า.
โดย
โบกอร์

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475


การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการปะทะรุนแรงที่เสียเลือดเนื้อได้
ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน
ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม
หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้าน
พระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ
หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น
โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.
หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จาก
วังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.
หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟ
เรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า "มันสมอง" มี นาย
ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว
แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน

การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือนประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุด
ทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร นิยมเรียกกันว่า หมุดคณะราษฎร มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"
ในยุคนั้น ถือเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติไทย และมีการประพันธ์เพลง "
วันชาติ 24 มิถุนา" โดยครูมนตรี ตราโมท ไว้ด้วย



วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กบฎ ร.ศ.130

บุคคลคณะนี้ เป็นนายทหารที่รักความก้าวหน้า และปรารถนาที่จะให้ประเทศชาติมีการปกครองเช่นเดียวกับจีนและญี่ปุ่น และต้องการให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่เป็นหัวหน้าคิดการใหญ่ครั้งนี้คือ ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์ ) นายแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก และยังเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ เสด็จในกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นหัวหน้าดำเนินการและริเริ่ม พร้อมด้วย ร.ต. จรูญ ษตะเมษ ซึ่งเป็นนายทหารสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อย ประจำการอยู่ที่กรมทหารราบที่ 12 มณฑลนครไชยศรี นายทหารทั้งสองนี่ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะให้ประเทศมีการปกครองตนเอง เปลี่ยนแปลงระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จะนำเอาแบบอย่างนานาอารยะประเทศมาใช้ จะปรับปรุงการศึกษา และการทหารเสียใหม่ จะให้สิทธิและเสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพ ให้มีรัฐธรรมนูญ ให้มีรัฐสภา ให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้ง ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย ที่กระทำกันอยู่ในยุโรปขณะนั้น เมื่อเกิดปณิธานและความมุ่งหมาย ในการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นนี้ ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติก็วางแผนชักจูงทหารทั่วประเทศ และเกลี้ยงกล่อมทหารเกณฑ์ที่เข้ารับราชการทุกรุ่น ให้มีความเข้าใจถึงความเป็นอยู่ของประเทศชาติ และความเสื่อมทรามในขณะนั้น และความเป็นไปของลัทธิประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไร รวมถึงอธิบายให้เขาเหล่านั้นเข้าใจถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น ได้แพร่ข่าวกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรตระหนักว่า ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็นลัทธิที่ไม่เหมาะสมแก่การปกครองประเทศ จนจะไม่มีเหลืออยู่แล้วในโลกนี้
ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติ ได้ใช้ดุลยพินิจอย่างหนักหน่วง ที่จะพยายามเลือกเฟ้นหาบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะที่จะเป็นผู้นำ และบุคคลที่จะเป็นผู้นำนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง มีความคิดเห็นเป็นประชาธิปไตย และเด็ดขาด มีอุดมการณ์แน่วแน่ มีมโนธรรมสูง มีจิตใจเป็นมนุษยธรรม เห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และควรได้รับความเคารพจากทหารทุกชั้น ต่างก็ลงความเห็นร่วมกันว่า ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นทั้งนายแพทย์และนักรบ จากนักเรียนนายร้อยสำรอง ซึ่งเคยผ่านงานมาแล้วเป็นอย่างดี ทั้งกำลังจะเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ฯ และหม่อมแคทรีน พระชายา ตลอดจนครอบครัวในพระองค์ท่านด้วย
ในการที่มีผู้เสนอ ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัตินั้น นับว่าเป็นความคิดเห็นที่ถูกต้อง เพราะร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ก็มีความเห็นเป็นทำนองเดียวกันว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรจะเปลี่ยนการปกครองเสียใหม่ เพื่อก้าวให้ทันเทียบกับนานาประเทศ และเพื่อนบ้าน และอีกทั้งในพระราชสำนักนั้น ก็เต็มไปด้วยความฟุ้งเฟ้ออันไร้สาระ ประเทศอยู่ในภาวะฝืดเคือง ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นไปในทำนองนั้นต่อไปอีก ไม่ทราบว่า บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรในอนาคต
นอกจากจะมีทรรศนะไปในทางเดียวกันแล้ว ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ยังเป็นบุคคลเด็ดขาด เข้มแข็ง สุภาพอ่อนโยน และเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ โอบอ้อมอารี อันเป็นนิสัยของแพทย์ทั่วไป และเพื่อเป็นการจูงใจให้นายทหารและนักเรียนนายร้อยทหารบกเข้ามาร่วมกำลังได้โดยง่าย จึงเห็นเป็นการสมควรยกย่องให้ ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัติ และท่านก็ยอมรับเป็นหัวหน้าโดยทันทีทันใด เพราะท่านก็มีความปรารถนา ในทำนองนั้นอยู่แล้ว
วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2454 (ร.ศ. 130) ที่ศาลาพักร้อนภายในบริเวณบ้าน ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ถนนสาธร ได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการปฎิวัติกันเป็นครั้งแรก และเรียกคณะของตนว่า "คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130" ในการริเริ่มครั้งนี้มีเพียง 7 คนเท่านั้น คือ
1.ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์
2.ร้อยตรี เหรียญ ศรีจันทร์
3.ร้อยตรี จรูญ ษตะเมษ
4.ร้อยตรี เนตร พูนวิวัฒน์
5.ร้อนตรี ปลั่ง บูรณโชติ
6.ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนีกร
7.ร้อยตรี เขียน อุทัยกุล

การประชุมวางแผนโค่นล้มราชบัลลังก์ ครั้งแรกนี้พอสรุปได้ผลว่า จะต้องเปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีสมาชิกบางคนที่หัวรุนแรงเห็นว่า ควรให้เป็นมหาชนรัฐอย่างจีนและสหรัฐฯ บางคนก็ไม่ต้องการให้รุนแรงขนาดนั้น เอาแต่เพียงว่า ขอให้องค์พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นก็เพียงพอ และได้มีการถกถึงปัญหานี้อย่างกว้างขวาง จนหาข้อสรุปมิได้ จนในที่สุดก็ได้ตกลงกันว่า ขอให้ทุกคนช่วยกันแสวงหาพรรคพวกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไปพลางก่อน และในตอนท้ายได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า ให้รักษาความลับเรื่องนี้ไว้อย่างสุดชีวิต
การประชุมครั้งที่สอง ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ณ ที่เดิม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2454 คราวนี้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน โดยมีสมาชิกใหม่ 13 คน
การประชุมครั้งที่สองนี้ มีร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ เป็นประธาน โดยพันตรี นายแพทย์ หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ ได้เสนอญัตติเป็นเรื่องพิเศษในที่ประชุมว่า การคิดปฎิวัติครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องความเป็นความตาย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงขอให้สมาชิกได้แสดงความสัตย์ต่อกัน ว่าจะไม่คิดทรยศหักหลังกันเอง ขอให้สมาชิกทุกคนให้สัตยาบันว่า จะซื่อสัตย์ต่อกันทุกเมื่อ ทุกโอกาส ทุกนาที โดยยอมพลีชีวิตเพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมือง มิหวังผลอันมิชอบเพื่อการส่วนตัวด้วยประการทั้งปวง
ครั้นแล้วพิธีสาบานปฎิญาณตนว่า จะซื่อตรงต่อกันจนวันสุดท้ายก็เริ่มขึ้น โดยสมาชิกคณะปฎิวัติได้ให้สัตย์ปฎิญาณพร้อมกันว่า.....
" เราทั้งหลายเป็นผู้ก่อการด้วยกัน ต่างก็ได้คำนึงกันอยู่แล้วว่า ผลสำเร็จที่สุดนั้น ย่อมเป็นการยากมาก เพราะได้เห็นผลของการปฎิวัติมามากต่อมากนักแล้ว ซึ่งส่วนมากหากเป็นประเทศอื่นก็ดี เมื่อปรากฎว่ามีการปฎิวัติขึ้น คณะผู้ก่อการครั้งแรกนั้นมักจะถูกจับกุม
หรือไม่ก็ได้รับการทรมาน และถูกประหารชีวิตเสียก่อนงานจะสำเร็จ โดยมากมักจะเป็นอยู่เช่นนี้ แต่จะอย่างไรก็ดี แม้ว่าพวกปฎิวัติยุคแรกจะเพลี่ยงพล้ำ หรือได้รับโทษอย่างแสนสาหัสก็ตาม แต่ก็ยังมีพวกคนรุ่นหลังคิดการสืบต่อเนื่องกันไป และผลก็มักจะสำเร็จ"
การเสียสละครั้งนี้ เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ผลของการประชุมพอสรุปได้ดังนี้
1 จะต้องรีบลงมือทำการปฎิวัติโดยเร็วที่สุด
2 ระบอบการปกครองยังไม่เป็นที่ตกลงให้เลื่อนไปพิจารณาในกาประชุมครั้งต่อไป
3 ให้สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เกลี้ยกล่อม และหาสมาชิกใหม่ตามแนวเดิม ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด
4 แบ่งหน้าที่กันไปตามความถนัด และความสามารถ เช่นหมอเหล็งทำหน้าที่ประสานงานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หมออัทย์ รับหน้าที่ฝ่ายการต่างประเทศ ร้อยโทจรูญ กับนายอุทัย ทางด้านกฎหมาย ร้อยโทเจือ ร้อยโททองดำ ด้านเสนาธิการ และเตรียมแผน ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รับหน้าที่ออกแบบเครื่องหมายต่างๆของคณะ และอาณัติสัญญาณ นายทหารนอกนั้นให้เป็นฝ่ายคุมกำลัง เมื่อลงมือปฎิวัติ
5 ให้ทุกคนช่วยด้านกำลังเงินคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการนี้ การเงินมอบให้นายทะเบียน แล้วนายทะเบียนมอบให้หัวหน้าคณะ นายอุทัยได้มอบเงินให้หัวหน้าโดยตรงเป็นเงิน 1000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ต่อมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั้น คณะปฎิวัติก็ได้ประชุมกันอีก ณ สถานที่เดิม เมื่อวันที่ 27 มกราคม มีสมาชิกมาประชุมกัน 31 คน สมาชิกใหม่ 11 คน

การประชุมครั้งนี้ ฝ่ายวางแผนได้กำหนดโครงการไว้ว่า จะลงมือทำการปฎิวัติในวันถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันต้นเดือนเมษายน ตรงกับศกใหม่ ร.ศ. 130 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสมัยนั้น บรรดาข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องมีหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณสาบานตนต่อพระแก้วมรกต เฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ พระประมุขของชาติ ในท่ามกลางพระบรมวงศ์จักรี มุขอำมาตย์ ราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ และสมณะชีพราหมณาจารย์ ด้วยวิธีดื่มน้ำที่แช่ด้วยคมหอกคมดาบ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระประมุขของชาติ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งกายวาจาใจ โดยทั่วกันทุกคน และในโอกาสนี้คณะปฎิวัติจะใช้ปืนใหญ่ยิงขึ้นท้องสนามหลวงเป็นอาณัติสัญญาณ โดยกรมปืนใหญ่ที่1 รักษาพระองค์ และที่บางซื่อโดยกรมปืนใหญ่ที่ 2 เป็นสัญญาณให้หน่วยกำลังกล้าตายของคณะปฎิวัติ ได้รีบกระทำการทันที ให้เอาสนามหลวงเป็นแหล่งชุมนุมพลแหล่งใหญ่ ทางด้านกฎหมาย ก็ได้ทำการค้นคว้าหาหลักการแห่งรัฐธรรมนูญนานาชาติ เพื่อร่างกฎหมายเตรียมการไว้อย่างพร้อมสรรพ
มีการประชุมกันอีกหลายครั้ง และในครั้งที่4 นั้นก็มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายคน เช่น ร้อยตรี ลี้ ร้อยตรี ละม้าย ร้อยตรี สะอาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา ร้อยตรี บรรจบ ว่าที่ร้อยตรีชอุ่ม นาย เซี๊ยง สุวงค์ (พระยารามบัณฑิตสิทธิเศรณี) ร้อยตรี แช่ม ปานสีดำ
การประชุมได้ดำเนินไปอีกหลายครั้ง และมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นายทหารหน่วยกำลังเป็นพรรคพวกคณะปฎิวัติเกือบทั้งสิ้น และนอกจากเผยแพร่หาสมัครพรรคพวกในพระนครแล้ว ยังขยายกว้างออกไปยังต่างจังหวัดอีกด้วย
ในที่สุดคณะปฎิวัติก็มีสมัครพรรคพวกเพิ่มมากขึ้นทุกที ทหารที่จะมาอยู่ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันนั้น ทุกเหล่าพร้อมอาวุธ มาตั้งแถวเป็นเกียรติยศรับเสด็จพระราชดำเนินที่สนามหญ้าหลังวัดพระแก้ว ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารราบที่11 รักษาพระองค์ที่ถือปืนติดดาบปลายปืน ยืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ ซึ่งที่จะอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวมากที่สุด คือทหารของคณะปฎิวัติทั้งสิ้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายวางแผนได้ดำเนินการไปอย่างรัดกุมที่สุด
และตามแผนของคณะปฎิวัตินั้น ทหารจะไม่ต่อสู้กันเลย แม้นายทหารจะออกคำสั่ง ทหารทั้งหลายจะตกอยู่ในการบังคับบัญชาของคณะปฎิวัติอย่างสิ้นเชิง และเพื่อความไม่ประมาท คณะปฎิวัติจึงต้องมีหน่วยกล้าตาย ออกทำการควบคุมตามจุดสำคัญๆ ไว้ด้วยทั้งสิ้น
ในการปฎิวัติครั้งนี้ จุดมุ่งหมายอันใหญ่ยิ่งของคณะปฏิวัติ ก็คือ ไม่ต้องการให้มีการนองเลือดอย่างปฎิวัติในฝรั่งเศส และอังกฤษ ในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่14 หรือการปฎิวัติโค่นล้มราชวงศ์แมนจู และการปฎิวัติในรัสเซีย เว้นแต่ว่าหลีกเลี่ยงมิได้
จุดมุ่งหมายแรกคือการทูลเกล้าถวายหนังสือแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ให้ได้ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีพระบรมราชวินิฉัยให้เป็นไปตามหนังสือของคณะปฎิวัติ คือลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ อันจะนำพาประเทศก้าวสู่ความก้าวหน้าเยี่ยงอารยะประเทศ แต่หากมิได้เป็นไปตามความมุ่งหมายนี้ คณะปฎิวัติก็จำเป็นจะต้องใช้กำลังรุนแรงก็อาจเป็นได้
เนื่องจากการปฎิวัติครั้งนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทหารในต่างจังหวัดด้วย เพราะทหารเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคอันใหญ่ยิ่งในการปฎิวัติครั้งนี้ ด้วยเหตุนี้เอง คณะปฎิวัติจึงได้ส่งคนไปเกลี้ยกล่อมทหารตามจังหวัดต่างๆ ไว้เป็นพวก โดยคณะปฎิวัติได้ตกลงกันว่า มณฑลอยุธยา มีหน่วยทหารกองพลที่ 3 ประจำอยู่ และอยู่ใกล้พระนคร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาไว้เป็นสมัครพรรคพวก จึงได้ให้ร้อยตรี ม.ร.ว.แช่ รัชนีกร ไปเกลี้ยกล่อม ส่วนในมณฑลอื่น เช่น มณฑลนครไชยศรี เป็นหน้าที่ของ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ กับ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ มณฑลราชบุรี เพชรบุรี ให้ ร.ต. บุญ แตงวิเชียร และ ร.ต.โกย ไปเกลี้ยกล่อม สำหรับมณฑลนครสวรรค์ มอบหมายให้ ร.ต.จันทร์ ปานสีแดง
การไปเกลี้ยกล่อมทหารต่างจังหวัดนั้นได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนมากทหารหนุ่มยินดีให้ความร่วมมือด้วย แต่พวกนายทหารชั้นผู้ใหญ่นั้นไม่เอาด้วย
ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์ สมาชิกคณะปฎิวัติคนหนึ่งได้เสนอที่ประชุมว่า ได้ชักชวนสมาชิกใหม่คนหนึ่งไว้นานแล้ว ขณะนี้กำลังจะเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา ทหารปืนใหญ่ที่ 7 ที่พิษณุโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไว้ใจได้ บุคคลผู้นั้นคือ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่) แต่ ร.ต. เนตร ซึ่งเป็นเลขาธิการนุการคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เคยเป็นศิษย์วัดเบญจมบพิตรมาด้วยกัน รู้นิสัยใจคอคนผู้นี้ดีว่าเป็นคนที่ไม่น่าไว้วางใจ นิสัยโลเล พูดจาไม่แน่นอน ไม่จริงใจ เป็นคนน่ากลัว ชอบให้ร้ายป้ายสี ถ้าเอามาเป็นพวกก็เกรงว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ อาจจะเป็นภัยแก่การปฎิวัติครั้งนี้ก็ได้
คำคัดค้านของ ร.ต. เนตร ทำให้สมาชิกชักจะเริ่มลังเล เพราะบุคคลิกของ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ตามที่ ร.ต. เนตร ได้อ้างมานั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มิใช่นักปฎิวัต
อาจจะเป็นคราวเคราะห์ของคณะผู้ก่อการปฎิวัติ ร.ศ. 130 เพราะที่ประชุมไม่สามารถระงับไว้ได้ โดย ร.ต.ทวน ได้นำ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้ามาในที่ประชุม ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในบ่ายของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2454 ขณะนั้นการประชุมได้ดำเนินไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงไม่สามารถระงับได้ทัน เพราะในระหว่างที่อยู่นั้น ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็โผล่เข้ามา ร.ต. ทวน รีบออกไปต้อนรับอย่างเพื่อนสนิท สมาชิกทั้งหลายต่างพลอยแสดงความยินดีไปด้วย เพราะล้วนแต่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วทั้งสิ้นและทันที่ที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก้าวเข้าไปในที่ประชุม ก็ได้เกิดปรากฎการณ์แปลกประหลาด คือ แก้วนำยาอุทัยที่ตั้งอยู่กับพื้นเกิดแตกโพล๊ะเป็นสองท่อนขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ทุกคนถึงกับตกตะลึง และพากันเข้าใจว่า น่าจะเป็นลางร้าย แต่ ร.ท. เจือ ได้พยายามพูดจากลบเกลื่อนไปในทางที่ดีและเป็นสิริมงคลเสีย ทั้งหมดจึงได้คลายวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประชุมกันต่อไป และมีพิธีสาบาน โดยเอาลูกกระสุนปืนแช่ในเหยือกน้ำ พร้อมกับคำสาปแช่งอย่างร้ายแรงว่า " ทุกคนจะต้องสุจริตต่อกัน ผู้ใดคิดการทรยศต่อคณะนี้จงพินาศ" จากนั้นก็รินน้ำสาบานให้ทุกคนดื่ม
หมอเหล็ง ศรีจันทร์ ประธานในที่ประชุม ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการปฎิวัติครั้งนี้ และแผนการณ์ต่างให้สมาชิกใหม่ทราบ โดย ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มีความขัดข้องใจเรื่องราชวงศ์จักรี เกรงว่าจะกระทบกระเทือน ทำให้ประชาชนไม่พอใจ หมอเหล็ง ก็ได้อธิบายว่า
" .....เป็นความจำเป็น เพราะทั่วโลกเขาก็ทำกันอย่างนี้ เพราะบ้านเมืองเต็มไปด้วยความยากจน ในราชสำนักนั้นก็ฟุ้งเฟ้อ ไม่ผิดอะไรกับราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 การกระทบกระเทือนย่อมต้องมีบ้าง เพียงแต่พระมหากษัตริย์ลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น สำหรับประชาชนนั้นจะได้แถลงนโยบายให้ทราบโดยทั่วกัน และพวกเขาทุกคนน่าจะพอใจที่จะได้ปกครองตนเอง ตามระบบประชาธิปไตย ซึ่งคงไม่มีปฎิกิริยาจากประชาชนเป็นแน่ ..."
ด้วยบุญญาธิการ อภินิหาร หรืออาจจะยังไม่ถึงคราวที่
ราชวงศ์จักรีจะสิ้นอำนาจ ก็ตาม ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ที่ ร.ต. เนตร วิจารณ์ว่าเป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจนั้น อาจจะไม่เห็นด้วยกับคณะปฎิวัติ หรือยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรืออาจจะเกรงกลัวอาญาแผ่นดิน หรือจะด้วยอะไรก็ตามแต่เถิด..... เพราะในที่สุด ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็จับเบอร์ได้เป็นผู้ที่จะลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับจารพระราชวังสนามจันทร์ โดยทางรถไฟพระที่นั่ง ที่สถานีบางกอกน้อย อันเป็นแผนการณ์ของคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และแผนต่อไปคือ การจับกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ไว้เป็นหลักประกัน โดยแผนการณ์ครั้งนี้เป็นแผนการณ์ที่ค่อนข้างจะร้ายแรงมาก เป็นการเสี่ยงมากทีเดียว
อาจเป็นเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่เห็นด้วยกับแผนการณ์ในครั้งนี้ หรือเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่มีหัวที่จะเป็นนักปฎิวัติ และยิ่งตนเองจะต้องเป็นผู้ลงมือด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ หนักใจยิ่งนัก และเมื่อหาทางออกอื่นไม่ได้แล้ว จึงได้ตัดสินใจนำความลับนี้ไปปรึกษา ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) มหาดเล็กคนโปรดของพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ
เมื่อ ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) ได้ทราบเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ก็พา ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้าเฝ้าหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่1 รักษาพระองค์ที่บางซื่อ โดยหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ได้นำความกราบทูลเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ในตอนเย็นวันนั้นเอง
สมเด็จเจ้าฟ้าฯทรงทราบเรื่องก็รู้สึกวิตกพระทัยยิ่งนัก เพราะพระองค์ไม่ทรงได้คาดฝันมาก่อน เพราะบุคคลในคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 นั้นเป็นลูกศิษย์ เป็นมหาดเล็กผู้ใกล้ชิด และตัวหมอเหล็งเองก็เป็นถึงแพทย์ประจำพระองค์ ซึ่งทรงโปรดปรานให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯจึงได้รีบรุดไปเข้าเฝ้ากราบบังคับทูล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ
พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยขบวนรถไฟพิเศษ
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ เสด็จไปถึงก็รีบเข้าเฝ้าทูลเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพบเพียงลำพังสองต่อสอง เพื่อกราบทูลพฤติการณ์สังหารโหด ของคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ซึ่งมุ่งหมายจะเปลี่ยนการปกครอง มาเป็นลัทธิประชาธิปไตย และมีแผนสังหารพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับรับฟังด้วยพระทัยอันทรงพระวิตก จึงได้มีพระราชดำรัสให้ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ รีบดำเนินการกับผู้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์โดยด่วนที่สุด ส่วนทางกองเสือป่าที่กำลังฝึกซ้อมอยู่ในขณะนั้น ก็สั่งให้เลิกซ้อมในทันทีทันใด
การจับกุมตัวพวกคณะปฎิวัติ ได้กระทำกันอย่างรวดเร็วมาก โดยหลังจากที่กลับจากเข้าเฝ้ากราบบังคับทูลแล้ว ก็ได้ออกคำสั่งลับเฉพาะด่วนมาก เรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตั้งแต่ผู้บังคับการขึ้นไป ณ ห้องประชุมกลาโหม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯทรงเป็นประธาน โดยประตูห้องประชุมปิดหมด เพื่อมิให้ผู้ใดรู้เรื่องการประชุมในครั้งนี้
เวลา 11.00 น. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ก็มีคำสั่งให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ออกทำการจับกุมพวกคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 โดยแบ่งเป็นสายๆ กว่าจะจับกุมตัวได้หมด ก็ใช้เวลาพอสมควร และได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีการนองเลือดและต่อสู้ เพราะเหล่าพวกคณะปฎิวัตินั้นไม่เตรียมตัว เพราะต่างกำลังเฝ้าคอยข่าวคราวที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ จะไปปฎิบัติ ว่าจะได้ผลเพียงใด จึงมิได้เตรียมการณ์ป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งหมดจึงถูกจับกุมโดยละม่อม ปราศจากการขัดขวางและแข็งขืน หรือต่อสู้
หลังจากจับกุมนักปฎิวัติได้ทั้งหมดแล้ว ก็มีพระบรมราชโองการ ให้ตั้งคณะกรรมการศาลทหารขึ้น โดยประกอบด้วย
จอมพล พระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) ปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
พลเอก พระยาศักดาวรเดช (แย้ม ณ นคร ) จเรทหารบก
พลตรี พระยาพิชัยสงคราม (เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร)
น.อ. พระยาวิจิตรนาวี
น.อ. พระยาสุนทรา (พระยาวินัยสุนทร) กรมพระธรรมนูญทหารเรือและนายทหารกรมพระธรรมนูญทหารเรืออีก 2 ท่าน
โดยรัฐบาลได้ขนานนามกลุ่มนักปฎิวัติ ร.ศ. 130 กลุ่มนี้ว่า "สมาคมก่อการกำเริบ" ไม่ใช้คำว่ากบฎ และการคุมขังนั้นได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ คุมขังที่ต่างประเทศ คุมขังที่กระทรวงกลาโหม และคุมขังหรือกักบริเวณตามกรมกองต่างๆ

ต่อมาคณะกรรมการก็เข้านั่งโต๊ะพร้อมกัน พระยาพิชัยสงคราม เป็นผู้อ่านคำพิพากษา ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2454 มีใจความสำคัญดังนี้
"เรื่องก่อการกำเริบ ตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว เรื่องเดิมมีนายทหารบกบ้าง ทหารเรือบ้าง พลเรือนที่ทำงานอยู่ในกระทรวงยุติธรรมบ้าง ได้สมคบคิดกัน ด้วยมูลความประสงค์คิดจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองของพระราชอาณาจักร ได้ประชุมตั้งสมาคม เมื่อเดือนมกราคม ร.ศ.130 แล้วได้ประชุมกันต่อๆมาอีก ราว 8 คราว ตระเตรียมกันทำการกบฎ ถึงประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน กระทรวงกลาโหมทราบเรื่องนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.130 จึงได้จับนายทหารบกซึ่งเป็นหัวหน้า และคนสำคัญในสมาคมนี้ จัดการไต่สวนตลอดจนพรรคพวก กระทรวงกลาโหมได้ทำรายงานตามที่ไต่สวน และนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารบก ทหารเรือ รวม 7 นาย เป็นกรรมการพิจารณาทำคำปรึกษาโทษ ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีใจความที่วินิจฉัย ตามที่ได้พิจารณาได้ความว่า ผู้ที่รวมคบคิดในสมาคมนี้ มีความเห็นจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นลีพับปิกบ้าง เป็นลิมิเต็ดมอนากี้บ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไร จึงจะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้นั้น ปรากฎอยู่ในที่ประชุมถึงการกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องนี้เดิมทีดูเหมือนสมาคมนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง แต่ครั้นพิจารณาตลอดแล้วกลับได้ความว่า สมคบกันเพื่อประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย แม้บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรง ที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี แต่ได้สมรู้เป็นใจและช่วยปกปิด เพราะฉะนั้น ตามลักษณะความผิดนี้ กระทำผิดต่อกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 97 ตอนที่2 มีโทษประหารชีวิตด้วยกันทุกคน บางคนกระทำผิดมาก ไม่สมควรได้ลดโทษเลย แต่บางคนกระทำผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพให้เป็นประโยชน์ในทางการพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรได้ลดหย่อนความผิดบ้าง อันเป็นเหตุควรลดโทษฐานปราณี ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 37 และมาตรา 59 จึงกำหนดโทษ 5 ขั้น ดังนี้
ชั้นที่ 1. ให้ลงโทษประหารชีวิต 3 คน
ชั้นที่ 2. ลดโทษลง เพียงจำคุกตลอดชีวิต 20 คน
ชั้นที่ 3. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 20 ปี 32 นาย
ชั้นที่ 5. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 12 ปี 30 คน
มีผู้ต้องคำพิพากษาศาลทหารเพียง 91 คนเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเด็ดขาด ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ดังนี้
"ได้ตรวจคำพิพากษาของศาลทหาร ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำเริบ ลงวันที่ 4 พฤษภาคมนั้นตลอดแล้ว เห็นว่ากรรมการพิจารณาพวกเหล่านั้น ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะทำร้ายต่อเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยกโทษให้ได้ เพราะฉะนั้น บรรดาผู้มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคำพิพากษาของกรรมการ ว่าเป็นฐานชั้นที่1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดโทษเป็นโทษชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต"
"บรรดาผู้มีชื่อ 20 คน ซึ่งลงโทษไว้เป็นชั้นที่2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดโทษลงเป็นชั้นที่3 ให้จำคุกคนละ 20 ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป
บรรดาผู้มีชื่อ 68 คน ซึ่งวางโทษไว้ในชั้นที่3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน และวางโทษชั้นที่4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน และวางโทษชั้นที่5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คนนั้น ให้รอลงอาญา ทำนองอย่างที่ได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ 42 ซึ่งว่าด้วยการลงโทษทางอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น อละอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งก่อน
แต่ผู้มีชื่อ 3 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่2 กับผู้มีชื่ออีก 20 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่3 รวม 23 คนดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดออกจากตำแหน่งยศบรรดาศักดิ์ ตามอย่างธรรมเนียมซึ่งเคยมีแก่นักโทษเช่นนั้น"
ในจำนวนผู้ที่ต้องรับพระราชอาญาจำคุก 32 คนนั้น เป็นพลเรือนคนหนึ่งคือ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา กองล่ามกระทรวงยุติธรรม นอกนั้นเป็นทหารบก 22 คน ให้ถอดออกจากยศบรรดาศักดิ์แล้ว คือ
จำคุกตลอดชีวิต
ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง
ร.ต. เจือ ศิลาอาสน์
จำคุก 20 ปี
ร.ท. เจือ ควกุล
ร.ต. เขียน อุทัยกุล
ร.ต. วาส วาสนา
ร.ต. ถัด รัตนพันธ์
ร.ต. ม.ร.ว. แช่ รัชนีกร
ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์
ร.ต. เหรียญ ทิพยรัตน์
ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์

ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์
ร.ต. สอน วงค์โต
ร.ต. ปลั่ง บูรณโชติ
ร.ต. จรูญ ษตะเมษ
ร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาส
ร.ต. บ๋วย บุณยรัตนพันธ์
ว่าที่ ร.ต. ศิริ ชุณห์ประไพ
ร.ต. จันทร์ ปานสีดำ
ร.ต. โกย วรรณกุล
พ.ต. หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์
ร.ต. บุญ แดงวิเชียร




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไท
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
วิกิพีเดียไทย เว็บไซต์บ้านจอมยุทธ

"http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8.130"ประเภทของหน้า: เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์